ข้อมูลจาก
ABI
Research ชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนจีนมีแนวโน้มการเติบโตของการใช้งานหุ่นยนต์เป็นจำนวนมากถึง
649,000 ตัว ภายในปี 2030 ซึ่งเติบโตขึ้นจากจำนวน 400,000 ตัว ในปี 2024
ด้วยอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างเสถียรอยู่ที่ 7.4%
เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศจีนนั้นมีการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก
ด้วยการที่เป็นฐานการผลิตสำคัญของนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน
จนกระทั่งถึงยุคที่การผลิตต่าง ๆ จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงออกไป
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากตัวอย่างจากสถานการณ์ช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 ที่ทำให้เกิด Supply Chain Shortage ทั่วโลก
และอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของ Geopolitics ที่เข้มข้นอย่างมาก
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติได้กลายเป็นกระดูกสันหลังอันแสนสำคัญให้กับภาคการผลิต
ซึ่งในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเองนั้นมียอดซื้อ-ขายอยู่ที่ 147,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 226,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายทศวรรษหรือช่วงปี 2030 ที่จะถึงนี้
แน่นอนว่าในปี
2024
ที่ผ่านมามีรายงานจากผู้ผลิตชั้นนำจำนวนไม่น้อยว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคำสั่งซื้อลดลง
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ผลิตหุ่นยนต์ OEM จากจีนที่เริ่มเข้ามาแทนที่ในตลาดบางภูมิภาคแล้ว
รวมถึงการเข้ามาของ Collaborative Robot (Cobot) ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Payload หรือเรื่องของการใช้งานต่าง ๆ
ที่ง่ายยิ่งขึ้น ซับซ้อนน้อยลง
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเองยังถือเป็นผู้นำในการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการจัดส่งในปี 2024
แต่หากพิจารณาเฉพาะจีนประเทศเดียวจะคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 40
ซึ่งภาคยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 38
ของการจัดส่งใหม่ที่เกิดขึ้น ตามมาด้วยการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 23
แขนกลกลุ่ม
Articulated
Robot ที่มีจุดเด่นด้าน Pay Load สูงเป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการจัดส่งหุ่นยนต์ทั้งหมด ซึ่งแบรนด์ใหญ่ดั้งเดิมอย่าง
ABB, YASKAWA, KUKA และ OMRON ต้องมาแข่งขันกับแบรนด์จีนแถวหน้าอย่าง
SIASUN, STEP ELECTRIC และ ETSUN AUTOMATION
แนวโน้มเหล่านี้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแม้แต่ในประเทศไทยเอง
เช่น งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ก็เริ่มมีโซลูชันจากแบรนด์จีนชื่อดังเข้ามาทำตลาด
ซึ่งไม่ได้เป็นการนำเสนอเฉพาะเทคโนโลยีหุ่นยนต์แบบเดี่ยว ๆ
แต่ยังมาพร้อมกับตัวอย่างการบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีแบรนด์จีนอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์อุตสาหกรรม หรือ EoAT ที่เป็นตัวเลือกในอุตสาหกรรมอีกมากมาย
มักใช้เรื่องของราคามาเป็นจุดแข่งขันหลัก รวมถึงการปรับแต่งคุณสมบัติต่าง ๆ
ตามความต้องการของผู้ผลิตที่ยืดหยุ่นกว่าแบรนด์เจ้าตลาดอีกด้วย
ที่มา
: MMThailand
วันที่
21 เม.ย. 2568